ข้อสอบ o-net วิชาประวัติศาสตร์

ข้อสอบ o-net วิชาประวัติศาสตร์

1. ถ้าปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ปีพุทธศักราช 2555 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด
1. ร.ศ. 224 2. ร.ศ. 225
3. ร.ศ. 227 4. ร.ศ. 231
2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดที่บ่งบอกพัฒนาการอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัย
1. ตำนาน 2. ศิลาจารึก
3. พงศาวดาร 4. โบราณสถาน
3. ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์
1. การรู้จักใช้ไฟ 2. รู้จักตั้งถิ่นฐาน
3. รู้จักการเพาะปลูก 4. รู้จักบันทึกข้อความ
4. ผลการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในอดีตอาจเปลี่ยนแปลงไปได้จากปัจจัยใด
1. การตั้งประเด็นคำถามของผู้ศึกษา และการค้นพบหลักฐานใหม่
2. การสังเคราะห์ผลการศึกษาเดิม และการนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบใหม่
3. การบูรณะแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการตีความในมุมมองใหม่ของผู้ศึกษา
4. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นมรดกโลก และการศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
5. พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด
1. ฉบับบริติชมิวเซียม 2. ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
3. ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 4. ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
6. การใช้หลักฐานที่บันทึกโดยชาวต่างชาติในการศึกษาประวัติศาสตร์มีข้อจำกัดในเรื่องใด
1. การมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันของชนชาติต่างๆ
2. ความรู้ความเข้าใจลักษณะทางสังคมของผู้บันทึก
3. การบันทึกในลักษณะตำนานหรือนิทานของชาติตะวันตก
4. ความคิดเห็นที่น่าสนใจจากผู้บันทึกที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน
7. ข้อมูลใดเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน
1. ภาษา 2. กายวิภาค
3. กลุ่มเลือด 4. หลักฐานจีน
8. แนวคิดที่ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณหมู่เกาะแถบเส้นศูนย์สูตรของภูมิภาคขัดกับหลักการทางมานุษยวิทยาในข้อใด
1. การตั้งถิ่นฐานและการอพยพ
2. การรวมกลุ่มและการแบ่งชนชั้น
3. ความเป็นมาทางภาษาพูดและการประดิษฐ์ตัวอักษร
4. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและการจัดการทรัพยากร
9. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
1. การมีแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของคณะราษฎร
2. ความร่วมมือของราษฎรส่วนใหญ่ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง
3. การเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของพลเมือง
4. ความพร้อมของประชาชนที่มีในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
10. พระราชนิพนธ์ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใดเป็นหลัก
1. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2. พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน
3. พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
4. พระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์
11. กฎหมายตราสามดวงเกิดจากการตรวจชำระและรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่ในรัชกาลใด
1. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
3. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
12. การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ยกเว้น ข้อใด
1. รูปแบบของรัฐ
2. ผู้บริหารประเทศ
3. ระบอบการปกครอง
4. เจ้าของอำนาจอธิปไตย
13. กิจกรรมในข้อใดเป็นการผสานภูมิปัญญาไทยกับสถานการณ์ปัจจุบัน
1. การประกวดนักออกแบบผ้าไทยร่วมสมัย
2. การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาด้านการดำรงชีวิตของท้องถิ่น
3. การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรค
4. การศึกษาค้นคว้าด้านนาฏศิลป์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
14. ความนิยมงานศิลปะปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑประดับหน้าบันโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยาสะท้อนคติความเชื่อในเรื่องใด
1. ความเชื่อเรื่องภพ-ภูมิต่างๆ
2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ
3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลเหนือพระพุทธศาสนา
4. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เหนือเมืองประเทศราชทั้งปวง
15. “…ถ้าเราขาดสุโขทัยอยุธยา และกรุงเทพฯ แล้วประเทศไทยก็คงไม่มีความหมาย…” พระราชดำรัสดังกล่าวส่งเสริมแนวคิดในเรื่องใด
1. ความเป็นมาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย
2. การมีจิตสำนึกรักชาติจากการศึกษาประวัติศาสตร์
3. ความสำคัญของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับความเป็นชาติ
4. การมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
16. ศักราชแบบใดที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุด
1. จุลศักราช 2. พุทธศักราช
3. คริสต์ศักราช 4. ฮิจเราะห์ศักราช
17. สมัยประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเริ่มที่แหล่งอารยธรรมใด
1. อารยธรรมกรีก 2. อารยธรรมโรมัน
3. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ 4. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส
18. เริ่มสมัยอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 ตรงกับการเกิดเหตุการณ์ใดในยุโรป
1. การสำรวจทางทะเล 2. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3. โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา 4. การสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก
19. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากวิธีการทางประวัติศาสตร์
1. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่าเดิม
2. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่โดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น
3. ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
4. ประเมินคุณค่าของข้อมูลเดิมว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่
20. เพราะเหตุใดนักประวัติศาสตร์มักตีความข้อมูลจากหลักฐานชิ้นเดียวกันแตกต่างกัน
1. มีความเชื่อต่างกัน 2. มีความสนใจต่างกัน
3. มีจุดประสงค์ที่ต่างกัน 4. มีความรู้ความสามารถต่างกัน
21. ข้อจำกัดสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สากลคืออะไร
1. มีหลักฐานจำนวนมาก 2. หลักฐานอยู่ที่ต่างประเทศ
3. ขาดเพื่อนร่วมศึกษาด้วยกัน 4. ศึกษายากเพราะมีความรู้น้อย
22. เพราะเหตุใดจึงถือว่าประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีเป็นมรดกทางอารยธรรมชิ้นสำคัญของโลก
1. เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก
2. มีบทลงโทษที่รุนแรงซึ่งช่วยลดจำนวนผู้เป็นภัยต่อสังคม
3. เป็นเครื่องแสดงว่าอำนาจรัฐเข้มแข็งพอที่จะบังคับพลเมืองได้แล้ว
4. เป็นแบบอย่างของความพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในการปกครอง
23. สาเหตุสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์พัฒนาอย่างมีเอกภาพคือข้อใด
1. มีการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
2. ยึดถืออารยธรรมเดิมตามบรรพบุรุษ
3. ไม่มีชนชาติอื่นมาปะปนในอาณาจักร
4. มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ป้องกันการรุกรานจากภายนอก
24. สิ่งก่อสร้างของอารยธรรมโรมันให้ความสำคัญต่อเรื่องใด
1. ความสวยงาม
2. ประโยชน์ใช้สอย
3. ความเชื่อทางศาสนา
4. ใช้วัสดุที่ประหยัดค่าใช้จ่าย
25. หากท่านเข้าชมพิพิธภัณฑ์มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ท่านจะไม่ พบสิ่งใด
1. เครื่องประดับ 2. อาวุธหินกะเทาะ
3. แผ่นศิลาจารึก 4. หม้อดินเผาสามขา
26. วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หมายถึงวิธีการใด
1. การตีความ 2. การประเมิน
3. การวิเคราะห์ 4. การสังเคราะห์
27. การสร้างงานศิลปกรรมของโรมันมีจุดมุ่งหมายใดเป็นหลัก
1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย
2. เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม
3. เพื่อแสดงความศรัทธาต่อศาสนา
4. เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิ
28. นวัตกรรมใดที่ทำให้เกิดการปฏิวัติภูมิปัญญาของชาติตะวันตก
1. ปฏิทิน 2. กระดาษ
3. แท่นพิมพ์ 4. นาฬิกากลไก
29. อาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมใดมากที่สุด
1. อารยธรรมจีน 2. อารยธรรมขอม
3. อารยธรรมอินเดีย 4. อารยธรรมอิสลาม
30. บุคคลใดได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติในสาขาปราชญ์และกวีประจำปี 2551
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
4. หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร
31. ที่ตั้งของแคว้นตามพรลิงค์ตรงกับบริเวณใดในปัจจุบัน
1. ไทรบุรี 2. ปัตตานี
3. สุราษฎร์ธานี 4. นครศรีธรรมราช
32. การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเกิดจากการรวมกันของเมืองใด
1. ละโว้-พิษณุโลก 2. สุพรรณภูมิ-ละโว้
3. พิษณุโลก-สุโขทัย 4. สุโขทัย-สุพรรณภูมิ
33. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงริเริ่มธรรมเนียมการดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางและข้าราชการ
1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
34. ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับมูลนายในสังคมไทยโบราณอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
1. ระบบกฎหมาย 2. ความจงรักภักดี
3. ค่านิยมและประเพณี 4. วัฒนธรรมและกฎหมาย
35. พีระมิดในอารยธรรมอียิปต์สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ใช้เป็นศาสนสถาน
2. ใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพฟาโรห์
3. แสดงถึงความเชื่อในเรื่องการฟื้นคืนชีพ
4. แสดงถึงอำนาจและความมั่นคงของอาณาจักร
36. เรื่องใดเป็นหลักฐานประเภทตำนาน
1. สังคีติยวงศ์ 2. ท้าวแสนปม
3. มังรายศาสตร์ 4. ไตรภูมิพระร่วง
37. รูปแบบใดเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปในสมัยกลาง
1. Gothic 2. Baroque
3. Neo-classic 4. Romanesque
38. จักรวรรดิอินเดียได้รับอิทธิพลทางศิลปะด้านใดจากกรีกและเปอร์เซีย
1. จิตรกรรม 2. นาฏกรรม
3. ประติมากรรม 4. สถาปัตยกรรม

39. สมัยประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเริ่มที่แหล่งอารยธรรมใด
1. อารยธรรมกรีก 2. อารยธรรมโรมัน
3. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ 4. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส
40. เริ่มสมัยอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 ตรงกับการเกิดเหตุการณ์ใดในยุโรป
1. การสำรวจทางทะเล 2. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3. โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา 4. การสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก
41. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากวิธีการทางประวัติศาสตร์
1. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่าเดิม
2. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่โดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น
3. ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
4. ประเมินคุณค่าของข้อมูลเดิมว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่
42. เพราะเหตุใดนักประวัติศาสตร์มักตีความข้อมูลจากหลักฐานชิ้นเดียวกันแตกต่างกัน
1. มีความเชื่อต่างกัน 2. มีความสนใจต่างกัน
3. มีจุดประสงค์ที่ต่างกัน 4. มีความรู้ความสามารถต่างกัน
43. ข้อจำกัดสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สากลคืออะไร
1. มีหลักฐานจำนวนมาก 2. หลักฐานอยู่ที่ต่างประเทศ
3. ขาดเพื่อนร่วมศึกษาด้วยกัน 4. ศึกษายากเพราะมีความรู้น้อย

เฉลย

1. 4 2. 2 3. 4 4. 1 5. 4 6. 2 7. 1 8. 1 9. 1 10. 2 11. 3 12. 1
13. 1 14. 2 15. 3 16. 3 17. 4 18. 2 19. 1 20. 4 21. 2 22. 4 23. 4 24. 2
25. 3 26. 2 27. 1 28. 3 29. 2 30. 3 31. 4 32. 2 33. 1 34. 1 35. 1, 2, 4 36. 2, 3 37. 1, 3, 4 38. 1, 2, 3, 4 39. 4 40. 2 41. 1 42. 4 43. 2

อ้างอิง http://www.rachinuthit.ac.th/new/download/56/M6/Aksorn-Onet-M6/

ใส่ความเห็น